ในโลกการลงทุนยุคใหม่ที่มีสินค้าหลากหลาย ซึ่งมีความสลับซับซ้อนแตกต่างไปจากเดิมและมีความเสี่ยงจากการลงทุนมากน้อยแตกต่างกัน ตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้ผูู้ลงทุนรู้ระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ และสามารถเลือกลงทุนได้อย่างสบายใจ นั่นคือการทำแบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุน ซึ่งการทำแบบประเมินนี้ นอกจากจะทำให้ผู้ลงทุนรู้ระดับความเสี่ยงของตนเองแล้ว ยังช่วยให้ บลจ. หรือเจ้าหน้าที่การตลาดผู้ดูแลบัญชีรู้จักผู้ลงทุนดีขึ้น เพื่อจะได้ให้บริการและคำแนะนำในการลงทุนการลงทุนที่จะให้ผลสำเร็จ นอกจากจะมีการวางแผนที่ดีแล้ว ก็ควรหมั่นทบทวนและปรับปรุงแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่น อย่างน้อยทุก 6 เดือน หรือทุก 12 เดือน หรือทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุน เช่น วิกฤติการณ์ตลาดหุ้นผันผวน ภาวะอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดมีแนวโน้มลดลง เป็นต้น เพราะเหตุการณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนในพอร์ตการลงทุนของเราได้ ทำให้เราต้องปรับสัดส่วนการลงทุน โดยเพิ่มการลงทุนในหลักทรัพย์/ทรัพย์สินที่ได้รับ
ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวน้อยที่สุดสรุปหลักง่าย ๆ ในการพิจารณาปรับปรุงพอร์ต คือ ดูการเปลี่ยนแปลงของตัวเราเอง เช่น หน้าที่การงานเปลี่ยน ได้เลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน เป็นต้น ส่งผลให้เรามีรายได้เป็นกอบเป็นกำมากขึ้น เราก็อาจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนไปในสินค้าทางการเงินที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้น หรือลงทุนในระยะยาวที่สม่ำเสมอได้มากขึ้น หรืออีกกรณีหนึ่ง เราได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวการลงทุนในสินค้าทางการเงินที่มีความเสี่ยงมากขึ้น มีความรู้หรือมีประสบการณ์ในการลงทุนมากขึ้นจนมีความมั่นใจ ก็อาจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินค้าที่เสี่ยงสูงได้เพิ่มขึ้นโดยปกติแล้ว ผู้ลงทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนที่ใช้ระยะเวลาในการลงทุนค่อนข้างยาวอาจสบายใจกว่าหากจะนำเงินนั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะแม้จะเจอสภาวะเศรษฐกิจขึ้น ๆ ลง ๆ หรือตลาดการลงทุนผันผวนบ้าง ซึ่งอาจทำให้ผลการลงทุนอาจมีขาดทุนไปบ้างในบางช่วงเวลา ก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไรเพราะลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นเป้าหมายการลงทุนที่ใช้เวลาในการลงทุนระยะสั้น เช่น ต้องเก็บเงินเพื่อเรียนต่อ หรือซื้อรถ ไม่ควรนำเงินไปลงทุนแบบเสี่ยงมากจนเกินไปเพราะหากเกิดเจอช่วงผันผวนแล้ว ขาดทุนก็จะทำให้แผนการเรียนต่อได้รับผลกระทบได้