แพทย์แผนไทย จัดเป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชาติ
มีทั้งทฤษฎี หลักการ กระบวนการ และวิธีการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และมียากับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอันหลากหลายที่บรรพบุรุษไทยได้ช่วยกันสั่งสมเป็นมรดกของชาติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สมควรอย่างยิ่งที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ร่วมกันสืบสาน และปรับปรุงพัฒนาให้การแพทย์แผนไทยมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน มีมาตรฐานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับนับถือในระดับประเทศและนานาชาติ ซึ่งจะเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการพึ่งพาตนเอง
การรับรู้นโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับต่ำมาก โดยที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีทัศนคติและความคิดเห็นเชิงบวกต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มองเห็นเป็นโอกาสการพัฒนาคุณภาพการบริการการนวดไทย และแพทย์แผนไทย และมีความเห็นว่าประเทศไทยยังขาดความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางด้านยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากกระบวนการนโยบายที่ยังไม่ชัดเจนของรัฐบาล
เมื่อองค์การอนามัยโลก(WHO) กำหนดให้ทุกประเทศจะต้องกำหนดนโยบายของชาติให้มีการแพทย์แผนโบราณหรือแพทย์พื้นบ้านกับงานสาธารณสุขมูลฐานประกอบกับการพัฒนาของการแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์แผนตะวันตก เป็นระบบความรู้ที่มีรากฐานวิทยาศาสตร์แบบลดส่วน ศึกษาองค์ประกอบที่เล็ก (ทฤษฎีเชื้อโรค) แบ่งแยกจิตใจออกจากร่างกายเด็ดขาด แต่การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์ทางเลือกอื่นๆจะมองความเจ็บป่วยเป็นองค์รวม มีความใส่ใจรายละเอียดของผู้ป่วยแต่ละรายทั้ง กาย จิตใจ และสังคม ตรงกับการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ คือ กระบวนการที่ช่วยให้ผู้คนสามารถควบคุม และเพิ่มพูน
ด้านการแพทย์แผนไทย อันได้แก่ ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่น ยาจากสมุนไพรอันมีอยู่หลากหลาย การนวดไทย การดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน เป็นต้น ซึ่งภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ถือว่าเป็นระบบการแพทย์แบบองค์รวมระหว่าง กาย จิต สังคมและธรรมชาติ ซึ่งจะเห็นว่าการแพทย์แผนไทยไม่ได้มุ่งเน้นเป็นแต่เพียงการบำบัดโรคทางกาย หรือการรักษาเฉพาะส่วนอย่างการแพทย์ตะวันตก แต่เป็นการดูแลสุขภาพของคนทั้งร่างกาย และจิตในระดับปัจเจกบุคคล และยังสอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชนหรือสังคม และยังเอื้อประสานความสมดุลของระบบนิเวศน์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม